การเล่นฟุตบอลเป็นเกมที่ทำให้ผู้เล่นเกิดความตื่นเต้นไปกับการเล่น ผู้เล่นที่มีความสามารถในการ เล่น หรือมีทักษะที่ดีก็จะทำให้การเล่นเป็นไปด้วยความสมบูรณ์ เล่นได้โดยไม่มีความผิดพลาด และสามารถ สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ทีมได้เป็นอย่างดี ผู้เล่นในทีมจะต้องมีฝีเท้าที่ดี มีความแม่นยำในการยิงประตู ดังนั้น ในการเล่นฟุตบอลจึงต้องมีการฝึกฝน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการยิงประตูให้เกิดความแม่นยำ หากมีผู้เล่น ฝ่ายตรงข้ามทำฟาล์วหรือถูกทำโทษบริเวณรอบนอกเขตโทษ ก็จะสามารถยิงประตูด้วยลูกสปิน (Spin) ได้ อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพ จากการค้นคว้าพบว่าบริเวณที่มีโอกาสได้ประตูจากการเล่นลูกตั้งเตะมาก ที่สุด คือ ระยะ 20-30 หลา ห่างจากประตู โดยได้มีการแบ่งเป็นการยิงลูกโทษจังหวะเดียว 78% การเล่นลูกสองจังหวะ 24% และอื่น ๆ 8% (www.uefa.com) การยิงประตูได้อย่างแม่นยำนั้นต้องผ่าน การฝึกซ้อมหลาย ๆ ตำแหน่งตั้งลูก เพราะในการแข่งขันจริง นักกีฬาไม่สามารถเลือกตำแหน่งการยิงประตู ได้เมื่อเกิดการทำฟาล์ว ซึ่งเป็นไปตามกฎกติกาการเล่นฟุตบอลพื้นฐาน นอกจากนี้นักกีฬายังต้องอาศัย ความรู้ทางวิทยาศาสตร์การกีฬาเข้ามาเสริม เช่น การทำให้เกิดวิถีโค้งของลูกฟุตบอล เป็นต้น การวิจัยใน ครั้งนี้จึงต้องการศึกษาว่า ถ้ามีการฟาล์วหรือถูกทำโทษโดยให้มีการยิงประตูนอกเขตโทษ โดยที่ลูกฟุตบอล มีโอกาสถูกตั้งให้เตะในจุดต่างๆรอบประตู จุดตั้งเตะใดที่ทำให้เกิดโอกาสยิงลูกเข้าประตูได้มากที่สุด และผู้วิจัยยังศึกษาว่า การเคลื่อนที่เข้าเตะลูกฟุตบอลด้วยมุมที่แตกต่างกันจะมีผลต่อวิถีโค้ง ของลูกฟุตบอล หรือไม่
กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักกีฬาฟุตบอล ถนัดเท้าขวาที่มีทักษะและประสบการณ์ในการ เตะลูกโทษอย่างน้อย 3 ปีขึ้นไป โดยนักกีฬาจะต้องมีความสามารถอยู่ในระดับดิวิชั่น 1 หรือสูงกว่า โดยที่ นักกีฬาแต่ละคนจะต้องทำการเตะลูกโทษที่รัศมี 25 เมตร เมื่อวัดจากกึ่งกลางประตู โดยวางลูกฟุตบอลไว้ 3 ตำแหน่งคือ ที่มุม 30 องศา 60 องศา และ 90 องศา จากขอบหน้าประตู โดยแต่ละตำแหน่งที่ตั้งลูก นักกีฬาจะ ต้องทำการเคลื่อนที่เข้าเตะลูกฟุตบอลที่มุม 15 องศา 30 องศา และ 45 องศา มุมละ 10 ลูก โดยที่กำหนด ตำแหน่งที่ลูกฟุตบอลจะต้องเข้าประตู คือ มุมบนขวาและมุมบนซ้ายของประตู เนื่องจากเป็นตำแหน่งที่ ผู้รักษาประตูป้องกันได้ยาก ดังนั้นความแม่นยำคำนวณจากจำนวนลูกฟุตบอลที่ถูกยิงเข้าประตูในตำแหน่ง ที่กำหนด และนำผลการทดลองมาวิเคราะห์โดยใช้สถิตินอนพาราเมตริก (non-parametric statistic) โดยวิธี Friedman test กำหนดระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เปอร์เซ็นต์ลูกเข้าประตู
ภาพที่ 1 แสดงเปอร์เซ็นต์ลูกเข้าประตู
ภาพที่ 1 แสดงผลของตำแหน่งที่ตั้งลูกกับเปอร์เซ็นต์ที่ลูกเข้าประตู พบว่าถ้าตั้งลูกที่ตำแหน่ง 90 องศา โอกาสที่ลูกจะเข้าประตูมีสูงที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับตำแหน่งตั้งลูกอื่น ๆ ไม่ว่าจะเคลื่อนที่เข้าเตะในทิศทางใดก็ตาม
เมื่อศึกษาถึงมุมที่เหมาะสมสำหรับการเคลื่อนที่เข้าเตะ ไม่ว่าจะตั้งลูกฟุตบอลอยู่ตำแหน่งใด ก็พบว่า การเคลื่อนที่เข้าเตะที่มุม 45 องศา ทำให้ลูกฟุตบอลเข้าประตูมากที่สุด (ภาพที่ 2)
ภาพที่ 2 แสดงเปอร์เซ็นต์ลูกเข้าประตูในการเคลื่อนที่เข้าเตะที่มุม 15 องศา, 30 องศา และ 45 องศา
ถึงแม้ว่า การเคลื่อนที่เข้าเตะที่มุม 45 องศา จะทำให้โอกาสที่ลูกฟุตบอลเข้าประตูมีค่าสูงสุด แต่เมื่อศึกษาถึงวิถีโค้งแล้ว พบว่าเมื่อตั้งลูกฟุตบอลที่ตำแหน่งต่างกันในสนามแล้วเคลื่อนที่เข้าเตะด้วยมุม 45 องศา จะทำให้ลูกฟุตบอลเข้าประตูในตำแหน่งที่แตกต่างกัน ดังภาพที่ 3 คือ ตั้งลูกที่มุม 30 องศา และ 90 องศา จะทำให้ลูกฟุตบอลเข้าประตูที่มุมบนขวา แต่ลูกฟุตบอลที่ตั้งเตะที่มุม 60 องศา จะเข้าประตูที่มุมบนซ้าย
ภาพที่ 3 แสดงวิถีโค้งของลูกฟุตบอล เมื่อเคลื่อนที่เข้าเตะลูกฟุตบอลที่มุม 45 องศา
โดยที่ลูกฟุตบอลถูกตั้งไว้ที่มุม 30, 60 และ 90 องศา กับหน้าประตู
|